รหัสและคำอธิบายเล่ม 3  >> หมวดวิชาเกษตรศาสตร์

ก่อนหน้า ต่อไป

: : หมู่วิชาพืชไร่ : :

หมู่วิชาพืชไร่ ซึ่งอยู่ในหมวดวิชา เกษตรศาสตร์ ได้จัดลักษณะเนื้อหาวิชาออกเป็นดังนี้
1. พืชหัว                                                                                                                                          (502-1--)
2. พืชน้ำมัน                                                                                                                                     (502-2--)
3. ธัญพืช                                                                                                                                         (502-3--)
4. พืชเส้นใย                                                                                                                                    (502-4--)
5. พืชเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม                                                                                                      (502-5--)
6. พืชอาหารสัตว์                                                                                                                               (502-6--)
7. การคัดเลือกและการปรับปรุงพันธุ์พืช                                                                                            (502-7--)
8. การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ                                                                                                           (502-8--)
9. โครงการพิเศษ ปัญหาพิเศษ วิทยานิพนธ์โครงการศึกษาเอกเทศ   การสัมมนา และการวิจัย          (502-9--)
 

หมู่วิชาพืชไร่ (502)

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

น(ท-ป)

รหัสใหม่

รหัสเก่า

5021101

5021301

5021501

5022101

5022102

5022201

5022301

5022401

5022501

5022502

5022503

5022504

5022601

5023201

5023501

5023502

5023503

5023504

3621102

3621301

3621401

3622101

3622102

3622201

3622302

3622401

-

-

3622406

3622407

3622601

3623202

-

-

3623408

3623409

หลักพืชไร่

ธัญพืช

พืชไร่เศรษฐกิจ

พืชหัว

มันสำปะหลัง

พืชน้ำมัน

ข้าว

พืชเส้นใย

พืชไร่เศรษฐกิจ 1

พืชอุตสาหกรรม

อ้อย

สับปะรด

พืชอาหารสัตว์

มะพร้าว

พืชไร่เศรษฐกิจ 2

พืชเครื่องดื่ม

ยางพารา

ยาสูบ

3(2-2)

3(2-2)

3(2-2)

3(2-2)

2(1-3)

3(2-2)

2(1-3)

3(2-2)

3(2-2)
3(2-2)

2(1-3)

2(1-3)

3(2-2)

2(1-3)

2(1-3)

3(2-2)

2(1-3)

2(1-3)

คำอธิบายรายวิชา
หมู่วิชา พืชไร่ (502)

รหัส ชื่อและคำอธิบายรายวิชา น(ท-ป)
5021101 หลักพืชไร่
Principles of Agronomy
3(2-2)
       ความหมายและความสำคัญ การจำแนกพืชไร่ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลชนิดและพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับท้องถิ่น วิธีการปลูก การบำรุงรักษา ศัตรูที่สำคัญการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาและการจำหน่าย
 

5021301

ธัญพืช
Cereal Crops
3(2-2)
      ความหมายและความสำคัญของธัญพืช ชนิดของธัญพืช ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์ การเขตกรรม การดูแลรักษา การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช การเก็บเกี่ยวการแปรรูปและการจำหน่าย     
          ปฏิบัติการ
ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของธัญพืช อย่างน้อย 3 ชนิด เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ศึกษานอกสถานที่เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ และความรู้เกี่ยวกับการผลิตระบบการผลิตและการตลาดของธัญพืช
 

5021501

พืชไร่เศรษฐกิจ
Economic Field Crops
3(2-2)
    ความสำคัญของพืชเศรษฐกิจ หลักการปฏิบัติบำรุงพืชเศรษฐกิจ การปลูกข้าวและพืชไร่ชนิดอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ตัวอย่างพืชที่ควรส่งเสริมให้ปลูกเพื่อเศรษฐกิจ ประโยชน์และหลักการพิจารณาทำไร่นาสวนผสม เพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรกร
    ปฏิบัติการ
บำรุงรักษาพืชเศรษฐกิจ
 
5022101 พืชหัว
Root Crops
3(2-2)
     ความสำคัญ ประโยชน์และชนิดของพืชหัว ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์ การเขตกรรม การดูแลรักษา การป้องกันกำจัดโรค และแมลงศัตรู การเก็บเกี่ยว การแปรรูป และการจำหน่าย ปฏิบัติการ ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์อย่างน้อย 3 ชนิด เช่น มันสำปะหลัง มันเทศ ศึกษานอกสถานที่ เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ และความรู้เกี่ยวกับการผลิต ระบบการผลิต และการตลาดของพืชหัว
 
5022102 มันสำปะหลัง 2(1-3)
Cassava
      ประวัติ และ ความสำคัญของมันสำปะหลัง ปัญหาการปลูกมันสำปะหลังในประเทศ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พันธุ์และการเลือกพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์ การปลูก การบำรุงรักษา การปลูกพืชแซม
 
5022201 พืชน้ำมัน
Oil Crops
3(2-2)
      ความสำคัญ ประโยชน์และชนิดของพืชน้ำมัน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์ การเขตกรรม การดูแลรักษา การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรู การเก็บเกี่ยว การแปรรูปและการจำหน่าย
         ปฏิบัติการ
ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์พืชน้ำมันอย่างน้อย 3 ชนิด เช่น ละหุ่ง ทานตะวัน งานศึกษานอกสถานที่เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ และความรู้เกี่ยวกับการผลิต ระบบการผลิตและการตลาดของพืชน้ำมัน
 
5022301 ข้าว
Rice
2(1-3)
     ประวัติ ความสำคัญ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ข้าว ประเภทของการทำนา การปลูกและการบำรุงรักษา ศัตรูและการป้องกันกำจัด การเก็บเกี่ยว การจำแนกคุณภาพข้าว ตลาดและการจำหน่าย
 
5022401 พืชเส้นใย
Fiber Crops
3(2-2)
     ความสำคัญ ประโยชน์และชนิดของพืชเส้นใย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์ การเขตกรรม การดูแลรักษา การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรู การเก็บเกี่ยวการแปรรูปและการจำหน่าย ปฏิบัติการ ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชเส้นใยอย่างน้อย 3 ชนิด เช่น ฝ้าย ปอแก้ว ปอกระเจา ศึกษานอกสถานที่เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ และความรู้เกี่ยวกับการผลิต ระบบการผลิตและการตลาดพืชเส้นใย
 
5022501 พืชไร่เศรษฐกิจ 1
Economic Field Crops 1
 3(2-2)
      ความสำคัญของเศรษฐกิจ พฤกษศาสตร์ของพืชไร่เศรษฐกิจชนิดต่าง ๆ แหล่งปลูกพันธุ์ และดินที่เหมาะสม การเขตกรรม การดูแลรักษา การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรู การปลูกข้าวและพืชไร่ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น ประโยชน์และหลักการพิจารณาทำไร่นาสวนผสม
       ปฏิบัติการ
ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชไร่เศรษฐกิจชนิดต่าง ๆ และดำเนินการปลูก ดูแลรักษาจนถึงเก็บเกี่ยวกับพืชเศรษฐกิจอย่างน้อย 2 ชนิด เช่น พืชตระกูลหญ้าและตระกูลถั่ว อย่างละหนึ่งชนิด รวมทั้งศึกษา นอกสถานที่เกี่ยวกับไร่นาสวนผสม
 
5022502 พืชอุตสาหกรรม
Industrial Field Crops
3(2-2)
     ความสำคัญ ประโยชน์และชนิดของพืชอุตสาหกรรม ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์ การเขตกรรม การดูแลรักษา การป้องกันกำจัดโรค และแมลงศัตรูการเก็บเกี่ยว การแปรรูปและการจำหน่าย
      ปฏิบติการ
ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชอุตสาหกรรมอย่างน้อย 3 ชนิด เช่น อ้อย สัปปะรด ยางพารา ศึกษานอกสถานที่เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับการผลิต ระบบการผลิต และการตลาดของพืชอุตสาหกรรม
 
5022503 อ้อย
Sugarcane
2(1-3)
      ประวัติและความสำคัญ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์อ้อย การขยายพันธุ์ การปลูก การบำรุงรักษา ศัตรูและการป้องกันกำจัด การตรวจเปอร์เซ็นต์ น้ำตาล การขนส่งและการจำหน่าย วิธีการผลิตน้ำตาล จากอ้อย ภาวะการตลาด
 
5022504 สับปะรด
Pineapple
2(1-3)
      ความสำคัญ ประวัติความเป็นมาของสับปะรด ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ การจำแนกพันธุ์ ลักษณะประจำพันธุ์ การขยายพันธุ์ การปลูก การบำรุงรักษา การเก็บเกี่ยว การแปรรูป การจำหน่าย
 
5022601 พืชอาหารสัตว์
Forage Crops
3(2-2)
     การจำแนกประเภทและชนิดของพืชอาหารสัตว์ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ คุณค่าทางอาหาร การปลูกสร้างและการจัดการทุ่งหญ้าและถั่ว การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษา การแปรรูปและการใช้ประโยชน์จากพืชอาหารสัตว์ การเก็บรวบรวมตัวอย่างอาหารสัตว์ต่าง ๆ
     ปฏิบัติการ ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืช อาหารสัตว์ ทั้งพืชตระกูลถั่ว ฝึกปฏิบัติการทำ Herbarium ฝึกปฏิบัติการเก็บรักษาพืช อาหารสัตว์ เช่น การทำหญ้าและถั่วแห้ง การทำหญ้าและถั่วหมัก ศึกษานอกสถานที่
 
5023201 มะพร้าว
Coconut
2(1-3)
     ประวัติและความสำคัญของมะพร้าว ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พันธุ์ และการ คัดเลือกพันธุ์ การขยายพันธุ์ การปลูก การบำรุงรักษา การป้องกันกำจัดโรคและแมลง การเก็บเกี่ยว การแปรรูป ผลผลิตของมะพร้าว การจัดการและการตลาด
 
5023501 พืชไร่เศรษฐกิจ 2
Economic Field Crops 2
 2(1-3)
     เลือกเรียนพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น อย่างน้อย 3 ชนิด จะต้องไม่ซ้ำกับที่เลือกเรียน ในพืชไร่เศรษฐกิจ 1 โดยแต่ละชนิดศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พันธุ์ หลักการปฏิบัติบำรุงรักษา การขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์ การเก็บเกี่ยว การจัดจำหน่าย การใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการผลิตและการแปรรูป
 
5023502 พืชเครื่องดื่ม
Beverage Crops
3(2-2)
     ความสำคัญ ทางเศรษฐกิจ ถิ่นกำเนิด แหล่งผลิตที่สำคัญในประเทศและต่างประเทศ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พันธุ์ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การเขตกรรม การดูแลรักษา การป้องกันกำจัดโรค และแมลงศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว การแปรรูปและการตลาด
     ปฏิบัติการ
ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชเครื่องดื่มอย่างน้อย 3 ชนิด เช่น ชา กาแฟ โกโก้ ศึกษานอกสถานที่เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ และความรู้เกี่ยวกับการผลิต ระบบการผลิตและการตลาดของพืชเครื่องดื่ม
 
5023503 ยางพารา
Rubber
2(1-3)
      ประวัติ ความสำคัญของยางพารา ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ การขยายพันธุ์ ข้อพิจารณาในการปลูก วิธีปลูก การบำรุงรักษา การกรีดยาง การแปรรูป การจัดการและการตลาด
 
5023504 ยาสูบ
Tobacco
2(1-3)
ประวัติและความสำคัญ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ การปลูกและบำรุงรักษา การเก็บเกี่ยว การบ่ม การจัดคุณภาพของใบยา
 
 

ก่อนหน้า ต่อไป