หลักสูตรและสาขาวิชาวิทยาศาสตร์

การดาวน์โหลดหลักสูตรของโปรแกรมวิชาต่าง ๆ จะต้องใช้โปรแกรม Acrobat Reader ถ้ายังไม่มีโปรแกรม
ดังกล่าว คลิกที่ Adobe Acrobat Reader เพื่อทำการติดตั้งในเครื่องของท่าน



หลักสูตร

           หลักสูตรสถาบันราชภัฏยึดหลักมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพระดับอุดมศึกษามุ่งผลิตกำลังคนที่สนองความต้องการของท้องถิ่นและสอดคล้องกับ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทั้งที่ เป็นนักวิชาการกึ่งวิชาชีพ และวิชาชีพชั้นสูง มีความยืดหยุ่น สามารถปรับตามสภาพการเปลี่ยนแปลงด้าน
เศรษฐกิจ สังคมและความก้าวหน้าของวิทยาการ เปิดโอกาสให้มีการเลือกเรียนได้อย่างกว้างขวางทั้งหลักสูตรระดับอนุปริญญาระดับปริญญาตรีและ
ระดับปริญญาตรี(หลังอนุปริญญา)ในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติควบคู่ทฤษฎีและยึดหลักความร่วมมือระหว่าง
สถาบันการศึกษาและชุมชนนำไปสู่การพัฒนาก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถภาพในวิชาชีพทั้งในด้านเทคนิค
วิธีและการจัดการงานอาชีพและและด้านคุณธรรม

จุดหมาย

หลักสูตรสถาบันราชภัฏมุ่งให้ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้

1. มีความรู้ ทักษะ และเทคนิคเฉพาะทาง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้เป็นอย่างดี
2. มีทักษะในด้านการจัดการงานอาชีพ สามารถดำเนินงานอาชีพของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีความคิดสร้างสรรค์ มีนิสัยใฝ่รู้ มีทักษะและวิจารณญาณในการแก้ปัญหา สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
4. มีเจตคติที่ดี มีจรรยาบรรณและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าในอาชีพ
5. มีโลกทัศน์ที่กว้าง ยอมรับความเปลี่ยนแปลงของสังคม
6. เป็นพลเมืองดี มีความตระหนักต่อการพัฒนาตนเอง และเป็นผู้นำในการพัฒนาสังคม
7. มีความเป็นประชาธิปไตย กระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
และยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

จุดมุ่งหมาย

          จุดมุ่งหมายของหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ให้สามารถประกอบอาชีพ
ตามความต้องการของสังคมและท้องถิ่นโดยมีคุณสมบัติดังนี้

1.สามารถประกอบอาชีพโดยใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในหน่วยงานของรัฐเอกชนและประกอบอาชีพอิสระได้
2.นำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงความเป็นอยู่คุณภาพชีวิตของตนและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3.ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพสังคม และสภาพแวดล้อม
4. พัฒนาและส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรม เจตคติ และศรัทธาในการประกอบอาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การ
พัฒนาสังคมได้เป็นอย่า

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรสถาบันราชภัฏสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยหมวดวิชาและกลุ่มวิชา ดังนี้

1.หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป(GeneralEducation) หมายถึง วิชาการศึกษาที่นักศึกษาทุกคนต้องเรียนรู้อย่างกว้างขวางและรู้รอบในสิ่งที่
จำเป็นเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นมนุษย์และเป็นพลเมืองดีให้แก่บัณฑิต ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึงต้องมีในยุคนี้และอนาคตในการ
ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันอย่างรุนแรงในสังคมและให้ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปแบ่งเป็น 4 กลุ่มวิชา คือ
                   1.1 กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร
                   1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
                   1.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
                   1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2.หมวดวิชาเฉพาะด้าน(SpecializedEducation) หมายถึง วิชาเฉพาะทางใดทางหนึ่งที่นักศึกษาแต่ละคนจะเลือกเรียนเพื่อให้มี
ความรู้ความสามารถมีทักษะรู้เทคนิควิธีและเข้าใจกระบวนการงานอาชีพตลอดจนมีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ หมวดวิชาเฉพาะด้าน แบ่งเป็น 3 กลุ่มวิชา คือ
                   2.1 กลุ่มวิชาเนื้อหา หรือกลุ่มวิชาเอก- โท
                   2.2 กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการ
                   2.3 กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

3. หมวดวิชาเลือกเสรี (Free Elective) หมายถึง วิชาที่ให้นักศึกษาเลือกเรียนได้ตามความถนัดและมีความสนใจ เพื่อให้มีโลกทัศน์ที่กว้างขึ

   หน่วยกิตรวมและสัดส่วนของหน่วยกิตตามโครงสร้างหลักสูตร

            หน่วยกิตรวมและสัดส่วนหน่วยกิตขั้นต่ำตามโครงสร้างของหลักสูตรแต่ละระดับที่จัดไว้โดยใช้ข้อบังคับคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏว่าด้วยเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญาและปริญญาตรีพ.ศ. 2539

ระดับ

หมวดวิชา

ปริญญาตรี

120-150 หน่วยกิต

อนุปริญญา

70-90 หน่วยกิต

ปริญญาตรี

(หลังอนุปริญญา)

60-80 หน่วยกิต

1. การศึกษาทั่วไป

- กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร

- กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

- กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยี

33

9

9

6

9

18

6

3

3

6

18

3

6

3 หรือ 6

6 หรือ 3

2. เฉพาะด้าน

- กลุ่มวิชาเนื้อหา (วิชาเอก)

- กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึก

ประสบการณ์วิชาชีพ

- กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการ

ไม่ต่ำกว่า 75

ไม่ต่ำกว่า 60

7

15

ไม่ต่ำกว่า 40

ไม่ต่ำกว่า 40

5

6

ไม่ต่ำกว่า 40

ไม่ต่ำกว่า 35

5

9

3. เลือกเสรี

10

6

6

หน่วยกิตรวม

122

73

66


   
แผนผังโครงสร้างหลักสูตรสถาบันราชภัฏ สาขาวิชาวิทยาศาสตร



ระดับของหลักสูตร

        หลักสูตรสถาบันราชภัฏ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มี 3 ระดับ คือ

1. ปริญญาตรี
2. อนุปริญญา
3. ปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)

สายและโปรแกรมวิชา

        หลักสูตรสถาบันราชภัฏ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 50 โปรแกรมวิชา เป็นสายและโปรแกรมวิชา ดังนี้

1. โปรแกรมวิชาในสายเกษตรศาสตร์ มี 12 โปรแกรมวิชา ได้แก่

1.1 การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อนุปริญญา
1.2 การเพาะเลี้ยงสัตวน้ำ ปริญญาตรี
1.3 เกษตรศาสตร์ ปริญญาตรี
1.4 พืชศาสตร์ อนุปริญญา
1.5 พืชศาสตร์ ปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)
1.6 เทคโนโลยีการเกษตร อนุปริญญา
1.7 เทคโนโลยีการเกษตร ปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)
1.8 การส่งเสริมและสื่อสารการเกษตร ปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)
1.9 สัตวบาล อนุปริญญา
1.10 สัตวบาล ปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)
1.11 สัตวรักษ์ อนุปริญญา
1.12 วิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ ปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)

2. โปรแกรมวิชาในสายคณิตศาสตร์ มี 2 โปรแกรมวิชา ได้แก่

2.1 สถิติประยุกต์ อนุปริญญา
2.2 สถิติประยุกต์ ปริญญาตรี

3. โปรแกรมวิชาในสายคหกรรมศาสตร์ มี 5 โปรแกรมวิชา ได้แก่

3.1 การอาหาร อนุปริญญา
3.2 คหกรรมศาสตร์ทั่วไป ปริญญาตรี
3.3 ผ้าและเครื่องแต่งกาย อนุปริญญา
3.4 ศิลปประดิษฐ์ อนุปริญญา
3.5 สิ่งทอ อนุปริญญา

4. โปรแกรมวิชาในสายเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มี 12 โปรแกรมวิชาได้แก่

4.1 ก่อสร้าง อนุปริญญา
4.2 การพิมพ์ อนุปริญญา
4.3 เครื่องกล อนุปริญญา
4.4 เทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)
4.5 ไฟฟ้า อนุปริญญา
4.6 โลหะ อนุปริญญา
4.7 อิเล็กทรอนิกส์ อนุปริญญา
4.8 เซรามิกส์ อนุปริญญา
4.9 เทคโนโลยีเซรามิกส์ ปริญญาตรี
4.10 เทคโนโลยีเซรามิกส์ ปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)
4.11 ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อนุปริญญา
4.12 ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ปริญญาตรี

5. โปรแกรมวิชาในสายวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มี 19 โปรแกรมวิชา ได้แก่

5.1 เคมีปฏิบัติ อนุปริญญา
5.2 เคมี ปริญญาตรี
5.3 ฟิสิกส์ ปริญญาตรี
5.4 ชีววิทยาประยุกต์ ปริญญาตรี
5.5 เทคโนโลยีการยาง อนุปริญญา
5.6 เทคโนโลยีการยางและพอลิเมอร์ ปริญญาตรี
5.7 เทคโนโลยีการอาหาร อนุปริญญา
5.8 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ปริญญาตรี
5.9 วิทยาศาสตร์สุขภาพ (การส่งเสริมสุขภาพเด็ก) ปริญญาตรี
5.10 วิทยาศาสตร์การกีฬา (การฝึกและการจัดการกีฬา) ปริญญาตรี
5.11 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ปริญญาตรี
5.12 วิทยาศาสตร์ความปลอดภัย ปริญญาตร
5.13 คอมพิวเตอร์ อนุปริญญา
5.14 วิทยาการคอมพิวเตอร์ ปริญญาตรี
5.15 สุขศึกษา อนุปริญญา
5.16 สุขศึกษา ปริญญาตรี
5.17 สุขศึกษา ปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)
5.18 สาธารณสุขชุมชน ปริญญาตร
5.19 สิ่งทอ ปริญญาตรี

จุดประสงค์และการจัดการเรียนการสอน

1. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป

         หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป เป็นหมวดวิชาการศึกษาที่นักศึกษาทุกคนต้องเรียน แบ่งเป็น 4 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ และกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหมวดวิชาที่มุ่งพัฒนาและเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นมนุษย์ (Human Being) และพลเมืองดี (Active Citizen) ให้แก่บัณฑิตทั้งด้านกาย จิต อารมณ์ เจตคติ และสร้างคุณภาพชีวิตให้มีความเจริญงอกงาม ด้านปัญญาธรรม ทักษะและเจตคติ มีคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนมีความรู้ในด้านศิลปวิทยาการที่สร้างบุคลิกลักษณะของผู้มีการศึกษา สามารถเป็นผู้นำ ผู้ตาม และดำรงชีวิตในสังคมระบอบประชาธิปไตย ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคโลกาภิวัตน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดประสงค์ทั่วไป

จุดประสงค์ทั่วไปของหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป มีดังต่อไปนี้

1. ให้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรม -เนียมประเพณี การเมือง การปกครองของไทย และความรู้ความเข้าใจเพื่อนร่วมโลก เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
2. ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการคิด การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลและข้อเท็จจริงทีเป็นวิทยาศาสตร์และตามหลักธรรม การอนุรักษ์ ดูแลและพัฒนาการสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงความเจริญก้าวหน้าและผลกระทบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. ให้มีทักษะการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ตลอดชีวิต การคิดอย่างมีเหตุผล รู้จักวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่าง ๆได้ ตลอดจนมีทักษะด้านภาษาและการใช้สารสนเทศที่ติดต่อสื่อความหมายกับผู้อื่น และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ให้มีเจตคติที่ดี และซาบซึ้งในคุณค่าของสัจธรรม ความดี ความงาม และการดำรงตน ให้มีคุณค่าต่อสังคม มีค่านิยมที่พึงประสงค์ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบ ซาบซึ้งในศิลปะ และสุนทรียภาพ ตระหนักในการปฏิบัติตนตามวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย

การจัดการเรียนการสอน

1. การจัดรายวิชาในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป จัดแยกตามระดับการศึกษา คือ ระดับปริญญาตรีชุดหนึ่ง ระดับอนุปริญญาชุดหนึ่ง และระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) เป็นอีกชุดหนึ่ง
2. รายวิชา และจำนวนหน่วยกิตที่ต้องเรียนในแต่ละระดับการศึกษา ทุกโปรแกรม วิชา ทุกสาย และทุกสาขาวิชา จัดให้เรียนเหมือนกันหมด คือ ปริญญาตรี 33 หน่วยกิต อนุปริญญา 18 หน่วยกิต และปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) 18 หน่วยกิต
3. การเรียนการสอน เน้นรูปแบบการบูรณาการวิชาในกลุ่มวิชาเดียวกัน
4. ไม่ควรเรียนรายวิชาการศึกษาทั่วไปที่มีเนื้อหาซ้ำซ้อนกับรายวิชาในกลุ่มวิชาเนื้อหา
5. การจัดรายวิชาในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป ควรจัดให้เรียนในระยะต้น ๆ ของระดับการศึกษา

2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน

          หมวดวิชาเฉพาะด้านเป็นหมวดวิชาที่มุ่งส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจทักษะและเจตคติในวิชาเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งทั้งในด้านเทคนิควิธีและการจัดการงานอาชีพโดยให้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพหมวดวิชาเฉพาะด้านแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มวิชา คือ กลุ่มวิชาเนื้อหา หรือ เอก-โท กลุ่มวิชาชีพครูและกลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

จุดประสงค์ทั่วไป

หมวดวิชาเฉพาะด้านมีจุดประสงค์ดังนี้

1. ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในเนื้อหาวิชา และวิทยาการใหม่ ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ และช่วยพัฒนาสังคมส่วนรวม
2ให้มีทักษะอย่างเพียงพอเกี่ยวกับเนื้อหาวิชา เทคนิควิธี และการจัดการงานอาชีพ สามารถดำเนินงานอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ให้มีเจตคติที่ดี และตระหนักในคุณค่าของวิชาชีพที่ได้ศึกษา มีจรรยาบรรณและมุ่งมั่นในการพัฒนาวิชาชีพของตน

การจัดการเรียนการสอน

1. ระดับปริญญาตร

กลุ่มวิชาเนื้อหา จัดการเรียนการสอนเป็นแบบเอกเดี่ยว โดยกำหนดให้เรียนทั้งรายวิชาบังคับ และรายวิชาเลือก รายวิชาบังคับเป็นรายวิชาที่จำเป็นต่อการสร้างคุณลักษณะของผู้เรียนให้เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์เฉพาะของโปรแกรมวิชา ส่วนรายวิชาเลือก เป็นรายวิชาที่เสริม–สร้างคุณลักษณะของผู้เรียนให้เกิดความสมบูรณ์ หรือมีคุณลักษณะเฉพาะทาง ลักษณะการจัดรายวิชาเลือกจึงมีทั้งแบบให้เลือกจากรายวิชาที่จัดไว้ และเลือกเป็นแขนงวิชาการจัดการเรียนการสอนวิชาโท สำหรับผู้ที่เรียนวิชาเอกตามหลักสูตรสาขาวิชาศิลปศาสตร์ ถ้าเลือกเรียนวิชาโทข้ามสาขา คือ เรียนวิชาโทในสาขาวิชาการศึกษา ไม่ต้องเรียนรายวิชาพฤติกรรมการสอน (สภาการฝึกหัดครูอนุมัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2536)

กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการ กำหนดให้เรียนจำนวน15หน่วยกิต โดยจัดรายวิชาบังคับสำหรับทุกสายทุกโปรแกรมวิชาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ต้องเรียนเหมือนกัน 3 รายวิชา (9 หน่วยกิต) ส่วนหน่วยกิตที่เหลือ6หน่วยกิตให้จัดรายวิชาที่เหมาะสมแต่ละโปรแกรมวิชา โดยจัดรายวิชาให้มีหน่วยกิตเท่ากับหน่วยกิตที่เหลือ หรือจัดรายวิชาให้มากกว่า และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนก็ได้

กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จัดให้มีการเรียนรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อให้นักศึกษาได้มีความพร้อมในระดับหนึ่ง ก่อนที่จะออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การจัดรายวิชา ให้จัดรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2 หน่วยกิต และการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5 หน่วยกิต

  2. ระดับอนุปริญญา

กลุ่มวิชาเนื้อหา จัดให้เรียนไม่น้อยกว่า 37 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการ กำหนดให้เรียน จำนวน 6 หน่วยกิต โดยจัดให้ทุกสายทุกโปรแกรมวิชาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ต้องเรียนเหมือนกันหมด

กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จัดให้เรียน 5 หน่วยกิต โดยให้เรียนรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2 หน่วยกิต และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 3 หน่วยกิต

  3. ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)

กลุ่มวิชาเนื้อหา จัดการเรียนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการ กำหนดให้เรียน 9 หน่วยกิต โดยจัดเป็นรายวิชาบังคับสำหรับทุกสาย ทุกโปรแกรมวิชา ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ต้องเรียนเหมือนกัน 1 รายวิชา(3 หน่วยกิต) ส่วนหน่วยกิตที่เหลือ 6 หน่วยกิต ให้จัดรายวิชาที่เหมาะสมกับแต่ละโปรแกรมวิชา การจัดรายวิชาจะจัดให้มีหน่วยกิตเท่ากับหน่วยกิตที่เหลือ หรือจัดรายวิชาให้มากกว่า และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนก็ได้

ข้อกำหนดเฉพาะ ผู้ไม่เคยเรียนวิชาวิทยาการจัดการในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่ามาก่อน ให้เรียนรายวิชาวิทยาการจัดการระดับอนุปริญญา โดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตร จำนวน 6 หน่วยกิต ได้แก

3561204 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ 3(3-0)
3591105 เศรษฐศาสตร์ทั่วไป 3(3-0)

กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จัดให้เรียน 5หน่วยกิตโดยให้เรียนรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2 หน่วยกิต และฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 3 หน่วยกิต

3. หมวดวิชาเลือกเสรี

                    หมวดวิชาเลือกเสรี เป็นหมวดวิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น และนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่องานและชีวิตของตน

การจัดการเรียนการสอน

1. ระดับปริญญาตรี ให้เรียน 10 หน่วยกิต
2. ระดับอนุปริญญา ให้เรียน 6 หน่วยกิต
3. ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) ให้เรียน 6 หน่วยกิต

           แนวทางการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้เลือกเรียนรายวิชาใดๆในหลักสูตรวิทยาลัยครูหรือหลักสูตรสถาบันราชภัฏ ตามความถนัดและสนใจ มีแนวปฏิบัติดังนี้

1. ไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว
2. ไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชานั้น ๆ