ประวัติและทำเนียบผู้บริหาร

ประวัติความเป็นมา สำนักส่งเสริมวิชาการ ได้รับการแบ่งส่วนราชการครั้งแรกของวิทยาลัยครูเชียงใหม่ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในวิทยาลัยครูเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2530 งานด้านทะเบียนและวัดผล จากเดิมที่มีการแบ่งงานรับผิดชอบของงานทะเบียนและวัดผล ขึ้นอยู่กับสำนักงานอธิการบดี เรียกว่า “แผนกทะเบียนและวัดผล” ขึ้นตรงกับรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ส่วนงานบริหารหลักสูตรและบริหารงานวิชาการ การจัด การเรียนการสอน หน่วยวัดผลการศึกษา และหน่วยส่งเสริมและพัฒนาวิชาการขึ้นตรงกับรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ |
- ในวันที่ 12 มีนาคม 2530 ได้มีการประกาศแบ่งส่วนราชการของวิทยาลัยครูเชียงใหม่ ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2527 ได้แบ่งส่วนราชการของวิทยาลัยครู เป็น 10 หน่วยงาน และมีสำนักส่งเสริมวิชาการเป็นหน่วยงานหนึ่ง โดยมี อาจารย์ทัศนี ยอดอินทร์ เป็นผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการ คนแรก มีการแบ่งหน่วยงานย่อยออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ 6 ฝ่ายคือ ฝ่ายเลขานุการ ฝ่ายทะเบียนและวัดผล ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา ฝ่ายหลักสูตรและแผน การสอน ฝ่ายห้องสมุด และฝ่ายเอกสารตำรา
- ปีการศึกษา 2532 ได้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเดิมจาก ผู้อำนวยการ เป็น หัวหน้า สำนักส่งเสริมวิชาการ และมีการเปลี่ยนผู้บริหารสำนักส่งเสริมวิชาการมาเป็น อาจารย์ ดร.มงคล เอี่ยมสำอางค์ มีการขยายงานเพิ่มขึ้นอีก 4 งาน คือ งานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ งานสถิติและข้อมูล ผลการศึกษา งานศูนย์ข้อมูลเพื่อการศึกษา และงานพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ช่วยเสริมวิชาการ
- ปีการศึกษา 2533 ได้มีการปรับระบบโครงสร้างงานภายในโดยลดงานที่เพิ่ม จากงานเดิม 4 งาน ให้คงไว้เพียง 2 งาน คือ งานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพนั้นปรับเปลี่ยนรูปแบบ การทำงาน ในลักษณะของคณะกรรมการประสานงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และงานสวัสดิการและข้อมูลผลการศึกษา
- ปีการศึกษา 2534 มีการปรับองค์กรขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัฒน์ สมประเสริฐ เป็นหัวหน้าสำนักส่งเสริมวิชาการ แบ่งกลุ่มงานออกเป็น 2 ด้าน คือ 1) ด้านวิทยบริการ 2) ด้านธุรการวิชาการ และคงไว้ซึ่งงานโครงการและงานเฉพาะกิจวิทยบริการซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายหอสมุด ฝ่ายเทคโนโลยี และฝ่ายเอกสารตำรา
- – ด้านธุรการวิชาการ ประกอบด้วยฝ่ายเลขานุการ ฝ่ายหลักสูตรและแผนการเรียน ฝ่ายทะเบียนและวัดผล
- ในการดำเนินการดังกล่าวมีการประสานการทำงานอย่างเป็นระบบมีการจัดประชุมสัมมนา เพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน ซึ่งถือว่าเป็น “ยุคทองของสำนักส่งเสริมวิชาการ” ที่มีการกระจายการทำงาน มีการสร้างสรรค์งานใหม่ๆ อย่างมากมาย
- ปีการศึกษา 2538 อาจารย์มนตรี ศิริจันทร์ชื่น เป็นหัวหน้าสำนักส่งเสริมวิชาการ และ ในปีการศึกษา 2538 มีการประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ จึงมีการสรรหาผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการ
- ปีการศึกษา 2543 สำนักส่งเสริมวิชาการ ได้มีการปรับปรุงหน่วยงาน โดยแยก งานวิทยบริการออกไปเป็นศูนย์วิทยบริการ มีภาระงานเทียบเท่าคณะ มีการบริหารงานอย่างอิสระ สำนักส่งเสริมวิชาการมีลักษณะงานที่รับผิดชอบที่สำคัญ 3 ด้าน คืองานเลขานุการ งานทะเบียนและวัดผล และงานจัดการศึกษา
:: ทำเนียบผู้บริหาร :: | |
อาจารย์สมควร ธรรมคุณ | 2525-2528 |
อาจารย์สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ | 2528-2530 |
อาจารย์ทัศนีย์ ยอดอินทร์ | 2530-2532 |
ดร.มงคล เอี่ยมสำอางค์ | 2532-2534 |
อาจารย์วัฒน์ สมประเสริฐ | 2534-2537 |
อาจารย์สมผิว ชื่นตระกูล | 2537-2538 |
อาจารย์มนตรี ศิริจันทร์ชื่น | 2538-2544 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วสันต์ จินดารัตนาภรณ์ | 2544-2548 |
อาจารย์พวงทอง พร้อมไท | 2548-2552 |
อาจารย์พิชัย ระบอบ | 2552-2554 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กัลยา หงษาวงศ์ | 2554-2558 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี มณีโกศล | 2558-2560 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกษรา ปัญญา | 2560-ปัจจุบัน |
ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ปรัชญา |
การบริการที่ประทับใจ ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี มีมาตรฐานการปฏิบัติงาน มุ่งสู่การบริการที่มีคุณภาพ |
วิสัยทัศน์ |
สำนักทะเบียนและประมวลผล จะเป็นหน่วยงานชั้นนำระดับภูมิภาค ในการให้บริการ ด้านข้อมูลสารสนเทศ งานทะเบียนและประมวลผล ภายใน ปี พ.ศ. 2563 |
เอกลักษณ์ |
ระบบงานทันสมัย ใส่ใจบริการ ทำงานเป็นทีม |
อัตลักษณ์ |
บริการแบบกัลยาณมิตร สนับสนุนการผลิตบัณฑิต ด้วย ICT |
พันธกิจ |
|
ภารกิจ |
|
วัตถุประสงค์ |
|
อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ วัฒนธรรมองค์กร
อัตลักษณ์ |
“บริการแบบกัลยาณมิตร สนับสนุนการผลิตบัณฑิตด้วย ICT” |
เอกลักษณ์ |
“ระบบงานทันสมัย ใส่ใจบริการ ทำงานเป็นทีม” |
วัฒนธรรมองค์กร |
“ยึดมั่นกฎระเบียบ ทำงานด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้” |
ยุทธศาสตร์ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากระบวนการรับนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาระบบทะเบียนและประมวลผลให้มีประสิทธิภาพ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนากระบวนการให้บริการตามมาตรฐานการให้บริการ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล |
โครงสร้างองค์กร
ตามที่สำนักทะเบียนและประมวลผล ได้เปลี่ยนชื่อตามกฎกระทรวงศึกษาธิการแห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. 2547 นั้น มหาวิทยาลัยอยู่ระหว่างการพิจารณาแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
โครงสร้างองค์กร
![]() | |
![]() | |
![]() | |
![]() | |
![]() | |
![]() | |
![]() | |
![]() | |
![]() |
![]() | ![]() | ||
![]() | ![]() | ||
![]() | สำนักงานสำนักทะเบียนฯ | ![]() | |
![]() | ![]() | ||
![]() | ![]() | ||
![]() | ![]() | ||
![]() | ![]() | ||
![]() | ![]() | ||
![]() | ![]() | ||
![]() | ![]() | ||
![]() | ![]() | ||
![]() |
ที่ตั้ง สำนักทะเบียนและประมวลผล
สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Office of the Registrar Chiang mai Rajabhat University
เลขที่ 202 ถนนช้างเผือก ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 0-5388-5960 ถึง 80
โทรสาร: 0-5388-5970